ภาค 3

เอกสารชั้นต้นที่สำคัญ

 

คำชี้แจง

852 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

ในภาคนี้เป็นการนำเสนอสำเนาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ โดยคัดเลือกมาจัดพิมพ์ จำนวน 3 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 เอกสารสำคัญว่าด้วยการปกครองแผ่นดิน

1.1 หนังสือกราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการแผ่นดิน และพระราชดำรัสตอบความเห็นผู้ที่จะให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จ.. 1247

หนังสือกราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการแผ่นดินเป็นเอกสารที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วยให้เห็นสภาพบ้านเมืองที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลตะวันตกคุกคามประเทศไทย แสดงถึงการรับรู้ถึงความเป็นห่วงบ้านเมืองของเจ้านายและข้าราชการที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศ แต่ยังไม่มีประสบการณ์รับราชการแท้จริง จึงไม่ได้ตระหนักว่ามีความยุ่งยากในทางปฏิบัติเพียงใด และพระราชดำรัสตอบความเห็นผู้ที่จะให้เปลี่ยน-แปลงการปกครอง จ.. 1247 บ่งชี้ถึงพระอัจฉริยภาพในการปกครองประเทศอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินในสมัยต่อมา

ชุดที่ 2 เอกสารสำคัญว่าด้วยการศึกษา การแพทย์ และสาธารณสุข

ระบบราชการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบันของไทยมีจุดเริ่มต้นรวมอยู่กับการปฏิรูปการศึกษาไทยให้เป็นแบบตะวันตก ซึ่งเป็นหน้าที่ของแผนกโรงเรียนในกรมทหารมหาดเล็ก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก

บรรณาธิการจึงนำต้นฉบับเอกสารจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่สำคัญบางส่วนมาจัดพิมพ์ไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ระหว่างการปฏิรูปการศึกษากำลังดำเนินการอยู่นั้น การแพทย์แบบตะวันตกเกิดขึ้นในระบบราชการไทยอย่างไร เป็นเหตุให้ระบบราชการแพทย์และสาธารณสุขในระยะแรกเริ่มจัดตั้งจัดรวมอยู่ในกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) และต่อมาภายหลังจึงแยกออกมาและพัฒนาจนเป็นกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้จะทำให้ทราบว่า ในกระบวนการปฏิรูประบบการศึกษาไทยมีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์และมีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกเป็นครั้งแรกของไทย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนแพทย์ที่จัดตั้งตามมา ช่วยให้การจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ (โรงเรียนแพทยากร/โรงเรียนราชแพทยาลัย) ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เบื้องหลังความสำเร็จของการปฏิรูประบบราชการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบันที่สำคัญยิ่ง

853 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

ของไทย คือ สามารถผลิตแพทย์เข้ารับราชการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบราชการแพทย์และสาธารณสุขเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว

2.1 การปฏิรูปการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษาวิชาแพทย์

2.1.1 สำเนาเรียบเรียงที่จะจัดการโรงเรียนของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ การปฏิรูปโรงเรียนในประเทศไทย ขั้นที่ 1 จัดตั้งโรงเรียน 30 แห่งใน 30 ตำบล

2.1.2 หมอวิลลิศเสนอขอสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตก ครั้งที่ 1

2.1.3 การปฏิรูปโรงเรียนของไทย ขั้นที่ 2 จัดตั้งโรงเรียนพระอารามในวัดทุกตำบลทั่วประเทศ

2.1.4 หมอวิลลิศเสนอขอสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตก ครั้งที่ 2

2.1.5 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ นอมัลสกูล

2.1.6 พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ อธิบดีกรมพยาบาล มีพระดำริเรื่องจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์

2.2 รายงานประชุมกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล

รายงานประชุมกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล จำนวน 13 ครั้ง แต่ขณะนี้ค้นหาจากไมโครฟิล์มสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เพียง 9 ครั้ง (ขาดการประชุมครั้งที่ 8 - 10) เป็นเอกสารราชการสำคัญที่เพิ่งค้นพบใหม่ในหมวดหนังสือกราบบังคมทูล สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นจุดกำเนิดของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นจุดแรกเริ่มของระบบบริหารราชการแผ่นดินฝ่ายพลเรือน และกำเนิดของโรงพยาบาลหลวงสำหรับประชาชนแห่งแรกเรียกว่า Civilian Hospital ซึ่งมีลักษณะเป็นโรงพยาบาลของรัฐสำหรับชุมชนเรียกว่า Community Hospital

รายงานประชุมกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงจุดกำเนิดของโรงพยาบาลศิริราช ได้เห็นความพยายามและความตั้งใจของคนในยุคก่อน ๆ ที่มุ่งหวังให้มีสถานพยาบาลสำหรับประชาชนทั่วไป และพัฒนาระบบการแพทย์และการสาธารณสุขของไทยให้ก้าวหน้า ประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน

ชุดที่ 3 เอกสารสำคัญว่าด้วยสภากาชาดไทย

3.1 พระราชสาสน์ถึงประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ เรื่องสงครามฝรั่งเศสสยาม ร.. 112 และการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม พุทธศักราช 2436

เป็นเอกสารราชการสำคัญที่เพิ่งค้นพบใหม่ ได้รับมอบจากห้องสมุดของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวา เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างสงครามฝรั่งเศสสยาม หรือวิกฤตการณ์ ร.. 112 และการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม โดยมีเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (Gustave Rolin-Jacquemyns) เป็นผู้มีบทบาทช่วยเหลือสำคัญผ่านทาง Gustave Moynier ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพราะร่วมกันก่อตั้ง Institute of International Law, Brussels สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

854 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

3.2 พระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ เรื่องการเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวาและส่งผู้แทนลงนามให้สัตยาบัน ณ กรุงเบิร์น พุทธศักราช 2438

เป็นเอกสารราชการสำคัญที่เพิ่งค้นพบใหม่ ได้รับมอบจากห้องสมุดของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวา เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงการเข้าร่วมให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเจนีวา เมื่อ พ.. 2438

3.3 การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเจนีวา ร.. 125

การสืบค้นครั้งนี้ได้ค้นพบอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 (ฉบับร่าง) ในหมวดเอกสารกระทรวงต่างประเทศ สมัยรัชกาลที่ 5 จากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จึงประสานกับคุณเอกราช รักวนัส หัวหน้าฝ่ายกาชาดสัมพันธ์ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ขอให้ช่วยตรวจสอบอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 (ฉบับจริง) ที่สำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวา คุณเอกราชจึงแจ้งให้ มร.เบอาท ชไวเซอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานฯ ทราบ จึงนัดหมายเพื่อประชุมแบบไม่เป็นทางการ ณ ห้องประชุมของหอจดหมายเหตุ สภากาชาดไทย มี ดร.เตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทยเป็นประธาน จึงขอให้ มร.เบอาท ชไวเซอร์ ช่วยติดต่อสืบค้นต้นฉบับอนุสัญญาดังกล่าวให้ด้วย

เมื่อคุณเบอาทเดินทางกลับไปยังสำนักงานใหญ่ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ICRC headquarters in Geneva) ได้สืบค้นเอกสารในคลังเอกสารจดหมายเหตุกาชาดระหว่างประเทศ ณ นครเจนีวา แต่ไม่พบ จึงทำหนังสือจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศไปยังรัฐบาลสวิส เพื่อขอสืบค้นเอกสารจากคลังเอกสารจดหมายเหตุกาชาดระหว่างประเทศ ณ กรุงเบิร์น และได้ค้นพบต้นฉบับอนุสัญญา ร.. 125 ที่เก็บรักษาไว้โดยรัฐบาลสวิส เมื่อสอบทานกับต้นฉบับจึงพบว่าอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 (ฉบับร่าง) ที่พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาตินั้นมีข้อความตรงกับต้นฉบับอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ที่ได้รับจากรัฐบาลสวิสทุกประการ มร.เบอาท ชไวเซอร์ จึงขออนุญาตสำเนาจากรัฐบาลสวิส

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.เตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย เบิกตัว มร.เบอาท ชไวเซอร์ เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย สำเนาต้นฉบับของอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.. 2561 เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้